Engineering Program in Software Engineering ( Soft-En )

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Soft-en)

  • จุดเด่น มุ่งเน้นการผลิตวิศวกรซอฟต์แวร์คุณภาพสูงที่มีความสามารถทั้งในเชิงทฤษฏีและปฏิบัติ
  • เนื้อหาโดยรวม มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจในระบบซอฟต์แวร์ ทั้งในเชิงทฤษฏีและปฏิบัติ ตั้งแต่พื้นฐานจนกระทั่ง การพัฒนาการเขียนโปรแกรม การพัฒนาและทดสอบระบบ การบริหารจัดการโครงสร้างด้านซอฟต์แวร์ และมีความเข้าใจถึงการออกแบบและวิเคราะห์โปรแกรมเชิงวัสดุ และมีพัฒนาศักยภาพบัณฑิตผ่าน การฝึกงาน การทำโครงงาน/สหกิจศึกษา
  • ลักษณะพิเศษที่มุ่งพัฒนาให้มีขึ้นในตัวของนักศึกษา มุ่งพัฒนาบัณฑิตเพื่อให้เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ระดับชั้นนำของประเทศ ที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านวิชาการ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา มีทักษะความสามารถในการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพในภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยและนานาชาติ
  • อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
    • วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) หรือนักเขียนโปรแกรม (Programmer/Developer)
    • นักวิเคราะห์ระบบหรือนักออกแบบระบบ (System Analyst / Designer)
    • นักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance)
    • วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement Engineer)
    • นักทดสอบระบบ (Software Tester)
    • สถาปนิกซอฟต์แวร์ (Software Architect) นักบูรณาการระบบ (System Integrator)

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)

ใบกระจายโครงสร้างหลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)

ใบกระจายโครงสร้างหลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)

จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาศึกษา

ระยะเวลาศึกษาเป็นหลักสูตรแบบศึกษาเต็มเวลา นักศึกษาต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรอย่างน้อย 7 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)

นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนศึกษารายวิชารวมไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบและข้อกำหนดของหลักสูตร ดังนี้

วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
2.1) วิชาแกน 15 หน่วยกิต
2.2) วิชาเฉพาะด้าน 78 หน่วยกิต
2.2.1 วิชาบังคับทางวิศวกรรม 69 หน่วยกิต
2.2.2 วิชาเลือกทางวิศวกรรม 9 หน่วยกิต
3) วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต


โครงสร้างหลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)

นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนศึกษารายวิชารวมไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบและข้อกำหนดของหลักสูตร ดังนี้

วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะ 97 หน่วยกิต
2.1) วิชาแกน 15 หน่วยกิต
2.2) วิชาเฉพาะด้าน 57 หน่วยกิต
2.2.1 กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ 9 หน่วยกิต
2.2.2 กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 9 หน่วยกิต
2.2.3 กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 30 หน่วยกิต
2.2.4 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ 6 หน่วยกิต
2.2.5 กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
2.3) วิชาเลือก 25 หน่วยกิต
3) วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

แผนการศึกษาระดับปริญญาตรี

ปีการศึกษาที่ 1

ภาคการศึกษาที่ 1
วย.100 จริยธรรมสำหรับวิศวกร 0 หน่วยกิต
มธ.156 คอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น 3 หน่วยกิต
มธ.100 พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม 3 หน่วยกิต
มธ.110 สหวิทยาการมนุษยศาสตร์ 2 หน่วยกิต
สษ.070 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 0 หน่วยกิต
สษ.xxx ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3 หน่วยกิต
ค. 111 แคลคูลัสพื้นฐาน 3 หน่วยกิต
วซ.201 ปฏิบัติการพัฒนา ทักษะการเขียนโปรแกรม 1 2 หน่วยกิต
ท.161 การใช้ภาษาไทย 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
วพ. 201 การโปรแกรมเชิงวัตถุ 4 หน่วยกิต
วท. 135 ฟิสิกส์ทั่วไป 3 หน่วยกิต
สษ. xxx ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3 หน่วยกิต
วซ.202 ปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรม 2 2 หน่วยกิต
วซ. 210 วิศวกรรมซอฟต์แวร์เบื้องต้น 4 หน่วยกิต
มธ.120 สหวิทยาการสังคมศาสตร์ 2 หน่วยกิต
มธ.130 สหวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2 หน่วยกิต
รวม 20 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 2

ภาคการศึกษาที่ 1
ค. 112 เรขาคณิตวิเคราะห์และแคลคูลัสประยุกต์ 3 หน่วยกิต
วซ.100 วิทยาการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 3 หน่วยกิต
วพ.200 คณิตศาสตร์แบบไม่ต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
วพ. 202 โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี 1 3 หน่วยกิต
วพ. 330 ระบบฐานข้อมูล 3 หน่วยกิต
วซ. 211 การกำหนดความต้องการทางซอฟต์แวร์ 4 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
วซ.320การควบคุมและตรวจสอบเทคโนโนยีสารสนเทศ 3 หน่วยกิต
วพ. 341 การออกแบบและวิเคราะห์โปรแกรมเชิงวัตถุ 3 หน่วยกิต
วพ. 342 วิศวกรรมด้านการพัฒนาโปรแกรมบนเว็บ 3 หน่วยกิต
วซ. 212 สถาปัตยกรรมและการออกแบบซอฟต์แวร์ 4 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือกเสรี 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 3

ภาคการศึกษาที่ 1
วพ. 212 สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
วพ. 320 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1 3 หน่วยกิต
วซ. 311 การพัฒนาและทดสอบซอฟต์แวร์ 4 หน่วยกิต
วซ. 321 การบริหารจัดการโครงการด้านซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
วพ.260 ทฤษฏีความน่าจะเป็นและกระบวนการสุ่มสำหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
วพ.261 พีชคณิตเชิงเส้นและวิธีการเชิงเลขสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
วพ.331 ระบบปฏิบัติการ 3 หน่วยกิต
สษ.202 ภาษาอังกฤษสำหรับการทำงาน 3 หน่วยกิต
วซ.312 การประกอบและบำรุงรักษาระบบซอฟต์แวร์ 4 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษาที่ 3

วซ. 403 การฝึกงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์
(ในกรณีเลือกศึกษาแบบ 2.3.2.1)
0 หน่วยกิต
รวม 0 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 4

ภาคการศึกษาที่ 1
วซ.322จริยธรรมและความเป็นวิชาชีพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วพ.321 การรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
วซ. 404 โครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1
(ในกรณีที่เลือกศึกษาแบบสหกิจศึกษาวิศวกรรมซอฟต์แวร์)
3 หน่วยกิต
วซ.406การเตรียมสหกิจศึกษาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
(ในกรณีที่เลือกศึกษาแบบแบบสหกิจศึกษาวิศวกรรมซอฟต์แวร์)
3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือกเสรี 3 หน่วยกิต
รวม 15 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
วซ. 405 โครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 2
(ในกรณีที่เลือกศึกษาแบบโครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์)
6 หน่วยกิต
วซ. 407 สหกิจศึกษาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
(ในกรณีที่เลือกศึกษาแบบสหกิจศึกษาวิศวกรรมซอฟต์แวร์)
6 หน่วยกิต
รวม 6 หน่วยกิต

วิชาเลือก 21 หน่วยกิต

เลือกอย่างน้อย 12 หน่วยกิตจากรายวิชาต่อไปนี้

วซ. 323 หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1
วซ. 324 หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 2
วซ. 326 มโนทัศน์ภาษาโปรแกรม
วซ. 327 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์
วซ. 333 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
วซ. 333 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
วซ. 335 การนำเสนอแบบสื่อหลายมิติ
วซ. 336 คอมพิวเตอร์กราฟฟิค
วซ. 337 วิศวกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วซ. 338 การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ
วซ. 339 เทคโนโลยีชีวสารสนเทศ
วพ. 332 การปรับแต่งคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
วพ. 350 ปัญญาประดิษฐ์
วพ. 353 การรู้จำรูปแบบ
วพ. 355 การประมวลผลภาษาธรรมชาติเชิงสถิติ

เลือกศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง 9 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

เลือกศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง 9 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

วิชาโครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 9 หน่วยกิต

วซ. 403 การฝึกงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์
วซ. 404 โครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1
วซ. 405 โครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 2

วิชาสหกิจศึกษาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 9 หน่วยกิต

วซ. 406 การเตรียมสหกิจศึกษาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
วซ. 407 สหกิจศึกษาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

นักศึกษาอาจเลือกศึกษาวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

“ยกเว้นวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ทุกวิชา วิชาในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ที่ใช้รหัสย่อ มธ. ทุกวิชา และวิชา ท.162 และ ท.163”

แผนการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561

ปีการศึกษาที่ 1

ภาคการศึกษาที่ 1
วย.100 จริยธรรมสำหรับวิศวกร 0 หน่วยกิต
มธ.100 พลเมืองกับการลงมือแก้ปัญหา 3 หน่วยกิต
มธ.102 ทักษะชีวิตทางสังคม 3 หน่วยกิต
มธ.104 การคิด อ่าน และเขียน อย่างมีวิจารณญาณ 3 หน่วยกิต
ท. 201 การพัฒนาสมรรถภาพการเขียน 3 หน่วยกิต
วพ.101 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 3 หน่วยกิต
ค. 111 แคลคูลัสพื้นฐาน 3 หน่วยกิต
วท. 135 ฟิสิกส์ทั่วไป 3 หน่วยกิต
รวม 21 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
มธ. 050 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ (ไม่นับหน่วยกิต) 3 หน่วยกิต
มธ. 105 ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต
มธ. 107 ทักษะดิจิทัลกับการแก้ปัญหา 3 หน่วยกิต
มธ. 109 นวัตกรรมกับกระบวนคิดผู้ประกอบการ 3 หน่วยกิต
วซ. 210 การพัฒนาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1 3 หน่วยกิต
วซ.220 วิศวกรรมซอฟต์แวร์เบื้องต้น 3 หน่วยกิต
วซ.230 พีชคณิตเชิงเส้นและวิธีการเชิงเลขสำหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
รวม 18 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 2

ภาคการศึกษาที่ 1
มธ. 105 ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต
มธ.106 ความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
วซ.211 การโปรแกรมเชิงวัตถุ 3 หน่วยกิต
วซ.212 การพัฒนาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2 3 หน่วยกิต
วพ.200 คณิตศาสตร์แบบไม่ต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
วพ.204 ทฤษฎีความน่าจะเป็นและกระบวนการสุ่มสำหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
วพ.210 สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
รวม 18 - 21 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
วซ. 221 กระบวนการทางซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ. 222 การวิเคราห์และการเขียนแบบโครงสร้างซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ. 231 โครงสร้างข้อมูล และขั้นตอนวิธี 3 หน่วยกิต
วพ.311 ระบบปฏิบัติการ 3 หน่วยกิต
วพ.321การสื่อสารข้อมูลและเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์1 3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาศึกษาทั่วไป ส่วนที่ 2 3 หน่วยกิต
รวม 18 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 3

ภาคการศึกษาที่ 1
วซ.330 การกำหนดความต้องการทางซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ.331 สถาปัตยกรรมและการออกแบบซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ. 341 การสร้างซอฟต์แวร์ 1 3 หน่วยกิต
วพ. 230 ระบบฐานข้อมูล 3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
รวม 18 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
วซ.332 การทดสอบและประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ.340 การจัดการโครงแบบและบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ.342 การสร้างซอฟต์แวร์ 2 3 หน่วยกิต
วพ.334 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ 3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
รวม 18 หน่วยกิต

ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษาที่ 3

วซ. 403 การฝึกงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1 หน่วยกิต
รวม 1 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 4

ภาคการศึกษาที่ 1
วซ.410 จริยธรรมและความเป็นวิชาชีพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ. 404 โครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1
(ในกรณีที่เลือกศึกษาแบบ 2.3.2.1)
3 หน่วยกิต
วซ.406 การเตรียมการฝึกงานในวิชาชีพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระยะยาว
(ในกรณีที่เลือกศึกษาแบบ 2.3.2.2)
1 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือกเสรี
(ในกรณีที่เลือกศึกษาแบบ 2.3.2.2)
3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือกเสรี 3 หน่วยกิต
รวม 12 - 13 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
วซ. 405 โครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 2
(ในกรณีที่เลือกศึกษาแบบ 2.3.2.1)
6 หน่วยกิต
วซ.407 การฝึกงานในวิชาชีพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระยะยาว
(ในกรณีที่เลือกศึกษาแบบ 2.3.2.2)
9 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือกเสรี
(ในกรณีที่เลือกศึกษาแบบ 2.3.2.1)
3 หน่วยกิต
รวม 9 หน่วยกิต

วิชาเลือก 25 หน่วยกิต เลือกศึกษาวิชาเลือกจำนวน 25 หน่วยกิต โดยเลือกศึกษาตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ดังนี้

1. เลือกอย่างน้อย 15 หน่วยกิตจากรายวิชาต่อไปนี้
 วซ.323 หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1 3 (3-0-6)
 SF323 Special Topics in Software Engineering I
 วซ.324 หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 2 3 (3-0-6)
 SF324 Special Topics in Software Engineering II
 วซ.326 มโนทัศน์ภาษาโปรแกรม 3 (3-0-6)
 SF326 Programming Language Concepts
 วซ.327 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์และมนุษย์ 3 (3-0-6)
 SF327 Human-computer interaction
 วซ.333 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3 (3-0-6)
 SF333 Mobile Device Application Development
 วซ.334 การจัดการความรู้ 3 (3-0-6)
 SF334 Knowledge Management
 วซ.335 การนำเสนอแบบสื่อหลายมิติ 3 (3-0-6)
 SF335 Hypermedia Presentation
 วซ.336 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3 (3-0-6)
 SF336 Computer Graphics
 วซ.337 วิศวกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3 (3-0-6)
 SF337 Electronic Commerce Engineering
 วซ.338 การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ 3 (3-0-6)
 SF338 Information System Design and Development
 วซ.339 เทคโนโลยีชีวสารสนเทศ 3 (3-0-6)
 SF339 Bioinformatic Technology
 วซ.343 ระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร 3 (3-0-6)
 SF343 Enterprise Resource Planning (ERP) System
 วพ.240 วิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับการประมวลผลสัญญาณ 3 (3-0-6)
 CN240 Data Science for Signal Processing
 วพ.310 การปรับแต่งคอมพิวเตอร์แม่ข่าย 3 (3-0-6)
 CN310 Computer Server Configuration
 วพ.330 การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ 3 (3-0-6)
 CN330 Computer Application Developments
 วพ.335 การออกแบบภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์ 3 (3-0-6)
 CN335 Computer Animation
 วพ.340 การเรียนรู้ของเครื่อง 3 (3-0-6)
 CN340 Machine Learning
 วพ.351 การรักษาความปลอดภัยสำหรับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ 3 (3-0-6)
 CN351 Web Application Security
 วพ.360 การพัฒนาระบบวงจรดิจิตอลและไมโครคอนโทรลเลอร์ 3 (3-0-6)
 CN360 Digital and Microcontroller System Development
 วพ.416 ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ 3 (3-0-6)
 CN416 Cloud Computing
 วพ.417 ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ขั้นสูง 3 (3-0-6)
 CN417 Advanced System Administrations
 วพ.418 วิศวกรรมระบบการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ 3 (3-0-6)
 CN418 Big Data Engineering management
 วพ.419 ระบบคอมพิวเตอร์แบบกระจาย และการประมวลผลแบบขนาน 3 (3-0-6)
 CN419 Parallel and Distributed Systems
 วพ.426 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 3 (3-0-6)
 CN426 Data Communication and Computer Networks II
 วพ.476 เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต 3 (3-0-6)
 CN476 Internet Technologies
 วพ.477 การจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ 3 (3-0-6)
 CN477 Data Center Management

2. เลือกศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง 10 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้
2.1 วิชาโครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 10 หน่วยกิต

วซ.403 การฝึกงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1 (ไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา)
SF403 Software Engineering Internship
วซ.404 โครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1 3 (0-9-3)
SF404 Software Engineering Project I
วซ.405 โครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 2 6 (0-18-6)
SF405 Software Engineering Project II
2.2 การฝึกงานในวิชาชีพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระยะยาว 10 หน่วยกิต
วซ.406 การเตรียมการฝึกงานในวิชาชีพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระยะยาว 1 (0-3-0)
SF406 Preparation for Long-term Internship in Software Engineering
วซ.407 การฝึกงานในวิชาชีพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระยะยาว 9 (ไม่น้อยกว่า 480 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา)
SF407 Long-term Internship in Software Engineering 



รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)

แผนการศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)

แผนการศึกษาระดับปริญญาตรี

ปีการศึกษาที่ 1

ภาคการศึกษาที่ 1
วสห.106 ภาวะผู้นำและพลังโน้มน้าว 3 หน่วยกิต
มธ.100 พลเมืองกับการลงมือแก้ปัญหา 3 หน่วยกิต
ศศ.101 การคิด อ่าน และเขียน อย่างมีวิจารณญาณ 3 หน่วยกิต
วพ.101 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 3 หน่วยกิต
ค.111 แคลคูลัสพื้นฐาน 3 หน่วยกิต
วท.135 ฟิสิกส์ทั่วไป 3 หน่วยกิต
วศว.100 จริยธรรมสำหรับวิศวกร 0 หน่วยกิต
รวม 18 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
สษ.105 ทักษะการสื่อสารทางภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต
วพ.200 คณิตศาสตร์แบบไม่ต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
วซ.210 ปฏิบัติการพัฒนาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1 1 หน่วยกิต
วซ. 220 วิศวกรรมซอฟต์แวร์เบื้องต้น 3 หน่วยกิต
วซ. 230 พีชคณิตเชิงเส้นและวิธีการเชิงเลขสำหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
XX.xxx วิชาเลือกเสรี 3 หน่วยกิต
รวม 16 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 2

ภาคการศึกษาที่ 1
วพ.204 ทฤษฎีความน่าจะเป็นและกระบวนการสุ่มสำหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
วพ.210 สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
วซ.211 การโปรแกรมเชิงวัตถุ 3 หน่วยกิต
วซ.212 ปฏิบัติการพัฒนาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2 1 หน่วยกิต
วซ. 221 กระบวนการทางซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
XX.xxx วิชาเลือกเสรี 3 หน่วยกิต
รวม 16 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
วพ.240 วิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับการประมวลผลสัญญาณ 3 หน่วยกิต
วพ.311 ระบบปฏิบัติการ 3 หน่วยกิต
วพ.321 การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1 3 หน่วยกิต
วพ.334 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ 3 หน่วยกิต
วซ.222 การวิเคราะห์และการเขียนแบบโครงสร้างซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ.231 โครงสร้างข้อมูล และขั้นตอนวิธี 3 หน่วยกิต
รวม 18 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 3

ภาคการศึกษาที่ 1
วพ.230 ระบบฐานข้อมูล 3 หน่วยกิต
วพ.310 การปรับแต่งคอมพิวเตอร์แม่ข่าย 3 หน่วยกิต
วซ.330 การกำหนดความต้องการทางซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ.331 สถาปัตยกรรมและการออกแบบซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ.333 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3 หน่วยกิต
วซ.402 สัมมนาทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 0 หน่วยกิต
วธ.321 ความเป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี 3 หน่วยกิต
รวม 18 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
วพ.340 การเรียนรู้ของเครื่อง 3 หน่วยกิต
วพ.416 ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ 3 หน่วยกิต
วซ.332 การทดสอบและประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ.340 การจัดการโครงแบบและบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ.410 จริยธรรม และความเป็นวิชาชีพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 3 หน่วยกิต
วซ.404 โครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1(ในกรณีเลือกศึกษาวิชาเลือกรูปแบบที่ 1 โครงงาน) 1 หน่วยกิต
วธ.322 การตลาดสำหรับผู้ประกอบการ 3 หน่วยกิต
รวม 18/19 หน่วยกิต

ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษาที่ 3

วซ.403 การฝึกงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1 หน่วยกิต
รวม 1 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 4

ภาคการศึกษาที่ 1
รูปแบบที่ 1 วิชาโครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์
วซ.405 โครงงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 2 2 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
XX xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
รวม 8 หน่วยกิต
รูปแบบที่ 2 แลกเปลี่ยนต่างประเทศ
วซ.411 หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรม 1 3 หน่วยกิต
วซ.412 หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรม 2 3 หน่วยกิต
วศ.413 หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรม 3 3 หน่วยกิต
รวม 9 หน่วยกิต
รูปแบบที่ 3 วิชาฝึกงานในวิชาชีพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระยะยาว
วซ.407 การฝึกงานในวิชาชีพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระยะยาว 9 หน่วยกิต
รวม 9 หน่วยกิต
  • 2. แผนการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไปแบบ E-Learning

มธ.201 ความรู้ทางการเงินสำหรับบุคคล 3 หน่วยกิต
มธ.202 ครบเครื่องเรื่องลงทุน 3 หน่วยกิต
มธ.236 การผลิตสื่อ 3 มิติ ภาพเคลื่อนไหวและโลกเสมือน 3 หน่วยกิต
มธ.237 ความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลรายใหม่ 3 หน่วยกิต
มธ.238 พื้นฐานการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ อินเตอร์เนทสรรพสิ่ง และการจัดการวิเคราะห์ข้อมูล 3 หน่วยกิต
รวม 15 หน่วยกิต

หมายเหตุ หลักสูตรกำหนดให้นักศึกษาศึกษารายวิชาแบบ E-Learning 2 สาขาวิชา ดังนี้

1. สาขาทักษะผู้ประกอบการดิจิทัล (Essential Skills for Digital Entrepreneurs)

ประกอบด้วยรายวิชา

มธ.236 การผลิตสื่อ 3 มิติ ภาพเคลื่อนไหวและโลกเสมือน จำนวน 3 หน่วยกิต

มธ.237 ความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลรายใหม่ จำนวน 3 หน่วยกิต

มธ.238 พื้นฐานการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ อินเตอร์เนทสรรพสิ่ง และการจัดการวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 3 หน่วยกิต

1.1 แนวทางในการลงทะเบียนเรียนและขออนุมัติบันทึกวิชาในใบแสดงผลการศึกษา

1.1.1 นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนผ่านแพลตฟอร์ม (platform) ภายใต้ชื่อ https://hack1. hack athailand.com โดยนักศึกษาสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาและไม่มีข้อจำกัดเรื่องตารางเวลาเรียน

1.1.2 เมื่อนักศึกษาศึกษาและสอบผ่านรายวิชาต่างๆ ตามที่หลักสูตรกำหนดในวิชาสาขาทักษะผู้ประกอบการดิจิตอล (Essential Skills for Digital Entrepreneurs) สามารถนำวิชาที่ศึกษามาเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตกับรายวิชาในหลักสูตรได้

1.1.3 การขอเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตให้นักศึกษายื่นคำร้องแสดงความจำนงและระบุรายวิชาหรือกลุ่มวิชาในหลักสูตรที่ประสงค์จะเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตพร้อมแนบหลักฐานที่สะท้อนผลลัพธ์จากการเรียนรู้ประกอบการพิจารณาด้วย ได้แก่ ใบประกาศนียบัตรของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ต่อคณะ/ส่วนงานต้นสังกัดของนักศึกษาและให้คณะ/ส่วนงานส่งเรื่องไปยังกองบริหารงานวิชาการเพื่อเสนอต่อรองอธิการบดีซึ่งรับผิดชอบด้านวิชาการเพื่อพิจารณา

1.1.4 ในการบันทึกผลการศึกษาในรายวิชาที่ได้รับการอนุมัติให้เทียบโอนความรู้และหน่วยกิตให้สำนักงานทะเบียนนักศึกษาบันทึกอักษร ACC ในรายวิชาที่ได้รับอนุมัติให้เทียบโอนความรู้นั้น ซึ่งนักศึกษาจะได้รับการนับหน่วยกิตและไม่นำมาคำนวณระดับคะแนนเฉลี่ย

2. สาขาการเงินและการลงทุน (Finance and Investment)

ประกอบด้วยรายวิชา

มธ.201 ความรู้ทางการเงินสำหรับบุคคล จำนวน 3 หน่วยกิต

มธ.202 ครบเครื่องเรื่องลงทุน จำนวน 3 หน่วยกิต

2.1 แนวทางในการลงทะเบียนเรียนและขออนุมัติบันทึกวิชาในใบแสดงผลการศึกษา

2.1.1 นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนผ่านแพลตฟอร์ม (platform) ของ บริษัท สกิลเลน เอดูเคชั่น จำกัด ภายใต้ชื่อ Thammasat e-Learning and online courses  (https://tu.skilllane.com) โดยนักศึกษาสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาและไม่มีข้อจำกัดเรื่องตารางเวลาเรียน

2.1.2 เมื่อนักศึกษาศึกษาและสอบผ่านวิชาต่างๆ ตามที่หลักสูตรกำหนดในวิชาสาขาการเงินและการลงทุน (Finance and Investment) สามารถนำวิชาที่ศึกษามาเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตกับรายวิชาในหลักสูตรได้

2.1.3 การขอเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตให้นักศึกษายื่นคำร้องแสดงความจำนงและระบุรายวิชาหรือกลุ่มวิชาในหลักสูตรที่ประสงค์จะเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตพร้อมแนบหลักฐานที่สะท้อนผลลัพธ์จากการเรียนรู้ประกอบการพิจารณาด้วย ได้แก่ วุฒิบัตร e-Certification ต่อคณะ/ส่วนงานต้นสังกัดของนักศึกษาและให้คณะ/ส่วนงานส่งเรื่องไปยังกองบริหารงานวิชาการเพื่อเสนอต่อรองอธิการบดีซึ่งรับผิดชอบด้านวิชาการเพื่อพิจารณา

2.1.4 ในการบันทึกผลการศึกษาในรายวิชาที่ได้รับการอนุมัติให้เทียบโอนความรู้และหน่วยกิตให้สำนักงานทะเบียนนักศึกษาบันทึกอักษร ACC ในรายวิชาที่ได้รับอนุมัติให้เทียบโอนความรู้นั้น ซึ่งนักศึกษาจะได้รับการนับหน่วยกิตและไม่นำมาคำนวณระดับคะแนนเฉลี่ย