Engineering Program in Electrical Engineering and Industrial management ( iPen-iEE )

ข้อมูลทั่วไป

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรม (iPEN)

  • จุดเด่นมุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแบบบูรณาการ ร่วมกับองค์ความรู้ในด้านวิศวกรรมอุตสาหการควบคู่กัน
  • เนื้อหาโดยรวม เนื้อหาหลักสูตรจะมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจในระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการและระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม และมีความเข้าใจถึงระบบการผลิต การปรับปรุงประสิทธิภาพและการบริหารจัดการอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ปัญหาทางด้านอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
  • ลักษณะพิเศษที่มุ่งพัฒนาให้มีขึ้นในตัวของนักศึกษา มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความชำนาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและมีทักษะด้านการจัดการทางอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และพัฒนาศักยภาพบัณฑิตผ่านการดูงานและบรรยายพิเศษ เพื่อเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม
  • อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
    • วิศวกรไฟฟ้าหรือวิศวกรอุตสาหการ
    • นักวิจัย นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอุตสาหการ
    • ผู้จัดการโครงการ
    • ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอุตสาหการ

โครงสร้างหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)

ใบกระจายโครงสร้าง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)

ใบกระจายโครงสร้าง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)

จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาศึกษา

ระยะเวลาศึกษาเป็นหลักสูตรแบบศึกษาเต็มเวลา นักศึกษาต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรอย่างน้อย 7 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)

นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนศึกษารายวิชารวมไม่น้อยกว่า 152 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบและข้อกำหนดของหลักสูตร ดังนี้

1. วิชาศึกษาทั่วไป  30 หน่วยกิต
2. วิชาเฉพาะ 116 หน่วยกิต
    2.1 วิชาเฉพาะพื้นฐาน 26 หน่วยกิต
           2.1.1 วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 17 หน่วยกิต
           2.1.2 วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม  9 หน่วยกิต
    2.2 วิชาเฉพาะด้าน 90 หน่วยกิต
           2.2.1 วิชาบังคับทางวิศวกรรม 81 หน่วยกิต
           2.2.2 วิชาเลือกทางวิศวกรรม 9 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต


โครงสร้างหลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)

นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนศึกษารายวิชารวมไม่น้อยกว่า 156 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบและข้อกำหนดของหลักสูตร ดังนี้

1. วิชาศึกษาทั่วไป  30 หน่วยกิต
2. วิชาเฉพาะ 120 หน่วยกิต
    2.1 วิชาเฉพาะพื้นฐาน 26 หน่วยกิต
           2.1.1 วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 17 หน่วยกิต
           2.1.2 วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม  9 หน่วยกิต
    2.2 วิชาเฉพาะด้าน 94 หน่วยกิต
           2.2.1 วิชาบังคับทางวิศวกรรม 85 หน่วยกิต
           2.2.2 วิชาเลือกทางวิศวกรรม 18 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

แผนการศึกษา ( นักศึกษารหัส 61-65 )

แผนการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561

ปีการศึกษาที่ 1

ภาคการศึกษาที่ 1
มธ.104 การคิด อ่าน และเขียนอย่างมีวิจารณญาณ 3 หน่วยกิต
วย.100 จริยธรรมสำหรับวิศวกร 0 หน่วยกิต
ค.111 แคลคูลัสพื้นฐาน 3 หน่วยกิต
วก.100 กราฟิกวิศวกรรม 3 หน่วยกิต
วท.123 เคมีพื้นฐาน 3 หน่วยกิต
วท.133 ฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 1 3 หน่วยกิต
วท.173 ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน 1 หน่วยกิต
วท.183 ปฏิบัติการฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 1 1 หน่วยกิต
วอ.121 วัสดุวิศวกรรม 1 3 หน่วยกิต
รวม 20 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
มธ.050 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ (ไม่นับหน่วยกิต) 3 หน่วยกิต
มธ. 100 พลเมืองกับการลงมือแก้ปัญหา 3 หน่วยกิต
วพ.101 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 3 หน่วยกิต
ค.112 เรขาคณิตวิเคราะห์และแคลคูลัสประยุกต์ 3 หน่วยกิต
วท.134 ฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 2 3 หน่วยกิต
วท.184 ปฏิบัติการฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 2 1 หน่วยกิต
วย.202 กลศาสตร์วิศวกรรม-สถิตยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
วอ.250 กรรมวิธีการผลิต 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 2

ภาคการศึกษาที่ 1
มธ. 105 ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต
ค. 214 สมการเชิงอนุพันธ์ 3 หน่วยกิต
อฟ.200 คณิตศาสตร์ประยุกต์ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม 3 หน่วยกิต
อฟ.201 การออกแบบวงจรดิจิตอลและไมโครคอนโทรลเลอร์ 3 หน่วยกิต
อฟ.202 ปฏิบัติการพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและกรรมวิธีการผลิต 1 หน่วยกิต
อฟ.211 การคำนวณงานทางวิศวกรรมบนคอมพิวเตอร์ 1 หน่วยกิต
วฟ.240 การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 3 หน่วยกิต
วอ.261 สถิติวิศวกรรม 3 หน่วยกิต
รวม 20 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
อฟ.212 ปฏิบัติการพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า 1 หน่วยกิต
วฟ.210 สัญญาณและระบบ 3 หน่วยกิต
วฟ.220 ทฤษฎีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 3 หน่วยกิต
วฟ.241 อุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน 3 หน่วยกิต
วฟ.260 เครื่องจักรกลไฟฟ้า 1 3 หน่วยกิต
วอ.311 การศึกษาการปฏิบัติงานทางอุตสาหกรรม 3 หน่วยกิต
วอ.364 การวิจัยการปฏิบัติการ 1 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 3

ภาคการศึกษาที่ 1
อฟ.301 ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ 1 1 หน่วยกิต
วฟ.363 เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2 3 หน่วยกิต
วฟ.340 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ 3 หน่วยกิต
วฟ.360 ระบบไฟฟ้ากำลัง 3 หน่วยกิต
วฟ.380 เครื่องมือวัดและการวัดทางไฟฟ้า 3 หน่วยกิต
วอ.302 เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม 3 หน่วยกิต
วอ.312 การวางแผนและควบคุมการผลิต 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
อฟ.302 ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ 2 1 หน่วยกิต
อฟ. 311 การออกแบบนวัตกรรม 1 หน่วยกิต
อฟ.331 เซ็นเซอร์และอุปกรณ์แปลงสัญญาณในอุตสาหกรรม 3 หน่วยกิต
วฟ.364 การออกแบบระบบไฟฟ้า 3 หน่วยกิต
วฟ.365 การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง 3 หน่วยกิต
วฟ.381 ระบบควบคุม 3 หน่วยกิต
วอ.341 วิศวกรรมความปลอดภัย 3 หน่วยกิต
วอ.362 การควบคุมคุณภาพ 3 หน่วยกิต
รวม 20 หน่วยกิต

ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษาที่ 3

อฟ.400 การฝึกงานในอุตสาหกรรม 1 หน่วยกิต
รวม 1 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 4

ภาคการศึกษาที่ 1
มธ.102 ทักษะชีวิตทางสังคม 3 หน่วยกิต
มธ.106 ความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
อฟ.401 โครงงานทางวิศวกรรมไฟฟ้า อุตสาหการ 1 1 หน่วยกิต
อฟ.412 การเห็นภาพในเครื่องจักรอัตโนมัติและการประยุกต์ในอุตสาหกรรม 3 หน่วยกิต
วอ.433 การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกและโรงงานอุตสาหกรรม 3 หน่วยกิต
xx. xxx วิชาเลือก 1 3 หน่วยกิต
xx. xxx วิชาเลือก 2 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
มธ.109 นวัตกรรมกับกระบวนคิดผู้ประกอบการ 3 หน่วยกิต
มธ.107 ทักษะดิจิทัลกับการแก้ปัญญา 3 หน่วยกิต
อฟ.402 โครงงานวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ 2 1 หน่วยกิต
อฟ.411 การออกแบบธุรกิจเพื่องานนวัตกรรม 1 หน่วยกิต
พท. 242 การเสริมสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ 2 หน่วยกิต
xx. xxx วิชาเลือก 3 3 หน่วยกิต
xx. xxx วิชาเลือกเสรี 1 3 หน่วยกิต
xx. xxx วิชาเลือกเสรี 2 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

วิชาเลือกทางวิศวกรรม

เลือกศึกษารายวิชาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจำนวน 3 รายวิชา 9 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

* สำหรับนักศึกษาที่มีความประสงค์ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าให้เลือก รูปแบบที่1 หมวดงานไฟฟ้ากำลัง เท่านั้น

รูปแบบที่ 1 หมวดงานไฟฟ้ากำลัง(9 หน่วยกิต)

วฟ.465 อิเล็กทรอนิกส์กำลัง 3 (3-0-6)
LE465 Power Electronics
อฟ.416 การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน 3 (3-0-6)
EI416 Energy Conservation and Management
อฟ.417 ความปลอดภัยทางไฟฟ้า 3 (3-0-6)
EI417 Electrical Safety

รูปแบบที่ 2 หมวดเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยุคใหม่(9 หน่วยกิต)

อฟ.444 ไมโครโปรเซสเซอร์ในระบบอัตโนมัติ 3 (3-0-6)
EI444 Microprocessors in Automation System
อฟ.445 เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และการประยุกต์ใช้งาน 3 (3-0-6)
EI445 Artificial Intelligence technologies and applications
อฟ.446 ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆส าหรับไฟฟ้าและอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)
EI446 Cloud computing for Electrical and Industry Engineering

แผนการศึกษา (หลักสูตร 2566)


รายละเอียดหลักสูตร


หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)

แผนการศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)


แผนการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566

1. แผนการศึกษาแบบลงทะเบียนเรียนผ่านระบบการลงทะเบียนเรียนตามกระบวนการปกติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปีการศึกษาที่ 1

ภาคการศึกษาที่ 1
มธ.100 พลเมืองกับการลงมือแก้ปัญหา 3 หน่วยกิต
ศศ.101 การคิด อ่าน และเขียนอย่างมีวิจารณญาณ 3 หน่วยกิต
ค.111 แคลคูลัสพื้นฐาน 3 หน่วยกิต
วท.123 เคมีพื้นฐาน 3 หน่วยกิต
วท.173 ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน 1 หน่วยกิต
วท.133 ฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 1 3 หน่วยกิต
วอ.121 วัสดุวิศวกรรม 3 หน่วยกิต
วศว.100 จริยธรรมสำหรับวิศวกร 0 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
สษ.105 ทักษะการสื่อสารทางภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต
วพ.101 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 3 หน่วยกิต
ค.112 เรขาคณิตวิเคราะห์และแคลคูลัสประยุกต์ 3 หน่วยกิต
วท.134 ฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 2 3 หน่วยกิต
วท.185 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป 1 หน่วยกิต
วก.100  กราฟิกวิศวกรรม 3 หน่วยกิต
วอ.250 กรรมวิธีการผลิต 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 2

ภาคการศึกษาที่ 1
ค. 214 สมการเชิงอนุพันธ์ 3 หน่วยกิต
วย.202 กลศาสตร์วิศวกรรม-สถิติยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
วอ.261 สถิติวิศวกรรม 3 หน่วยกิต
วศว.200 คณิตศาสตร์ประยุกต์ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม 3 หน่วยกิต
อฟ.201 การออกแบบวงจรดิจิตอลและไมโครคอนโทรลเลอร์ 3 หน่วยกิต
อฟ.211 การคำนวณงานทางวิศวกรรมบนคอมพิวเตอร์ 1 หน่วยกิต
อฟ.240 การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าและการแปลงพลังงานกลไฟฟ้า 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
วอ.311 การศึกษาการปฏิบัติงานทางอุตสาหกรรม 3 หน่วยกิต
วอ.364 การวิจัยดำเนินงาน 1 3 หน่วยกิต
วฟ.210 สัญญาณและระบบ 3 หน่วยกิต
วฟ.220 ทฤษฎีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 3 หน่วยกิต
วฟ.241 อุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน 3 หน่วยกิต
อฟ.212 ปฏิบัติการพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า 1 หน่วยกิต
อฟ.260 เครื่องจักรกลไฟฟ้า  3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 3

ภาคการศึกษาที่ 1
วอ.312 การวางแผนและควบคุมการผลิต 3 หน่วยกิต
วฟ.360 ระบบไฟฟ้ากำลัง 3 หน่วยกิต
อฟ.301 ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้า 1 1 หน่วยกิต
อฟ.310 เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า การวัดทางไฟฟ้า และเซนเซอร์ 3 หน่วยกิต
อฟ.311 ระบบควบคุมและการควบคุมในอุตสาหกรรม 3 หน่วยกิต
อฟ.412 การเห็นภาพในเครื่องจักรอัตโนมัติและการประยุกต์ในอุตสาหกรรม 3 หน่วยกิต
อฟ.445 เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และการประยุกต์ในการจัดการพลังงาน 3 หน่วยกิต
รวม 19 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2
วอ.362 การควบคุมคุณภาพ 3 หน่วยกิต
วฟ.364 การออกแบบระบบไฟฟ้า 3 หน่วยกิต
วฟ.365 การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง 3 หน่วยกิต
วฟ.465 อิเล็กทรอนิกส์กำลัง 3 หน่วยกิต
อฟ.302 ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้า 2 1 หน่วยกิต
อฟ.303 ปฏิบัติการระบบอัตโนมัติ 1 หน่วยกิต
อฟ.446 การออกแบบระบบ IOT ในอุตสาหกรรม 3 หน่วยกิต
XX.xxx เลือกเสรี 3 หน่วยกิต
รวม 20 หน่วยกิต

ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษาที่ 3

อฟ.400 การฝึกงานในอุตสาหกรรม 1 หน่วยกิต
รวม 1 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 4

ภาคการศึกษาที่ 1
วสห.106 ภาวะผู้นำและพลังโน้มน้าว 3 หน่วยกิต
อฟ.401 สัมมนาทางวิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรม 0 หน่วยกิต
อฟ.416 การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน 3 หน่วยกิต
อฟ.417 ความปลอดภัยทางไฟฟ้า 3 หน่วยกิต
อฟ.418 ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะเบื้องต้น 3 หน่วยกิต
อฟ.402 โครงงานทางวิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรม 1 (ในกรณีเลือกศึกษาวิชาเลือกรูปแบบที่ 1) 1 หน่วยกิต
XX. xxx วิชาเลือกเสรี 3 หน่วยกิต
รวม 15/16 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาที่ 2 เลือกศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
รูปแบบที่ 1 วิชาโครงงานทางวิศวกรรมไฟฟ้า
อฟ.403 โครงงานทางวิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรม 2 2 หน่วยกิต
XX.xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
XX.xxx วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
รวม 8 หน่วยกิต
รูปแบบที่ 2 แลกเปลี่ยนต่างประเทศ
อฟ.421 หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรม 1 3 หน่วยกิต
อฟ.422 หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรม 2 3 หน่วยกิต
อฟ.423 หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรม 3 3 หน่วยกิต
รวม 9 หน่วยกิต
รูปแบบที่ 3 วิชาฝึกงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรมระยะยาว
อฟ.424 การฝึกงานในวิชาชีพด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรมระยะยาว 9 หน่วยกิต
รวม 9 หน่วยกิต


2. แผนการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไปแบบ E-Learning
มธ.201 ความรู้ทางการเงินสำหรับบุคคล 3 หน่วยกิต
มธ.235 หลักการออกแบบและพัฒนาเว็ปแอปพลิเคชัน 3 หน่วยกิต
มธ.238 พื้นฐานการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ อินเตอร์เนทสรรพสิ่งและการจัดการวิเคราะห์ข้อมูล 3 หน่วยกิต
มธ.239 การพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนเบื้องต้น 3 หน่วยกิต
รวม 12 หน่วยกิต
หมายเหตุ หลักสูตรกำหนดให้นักศึกษาศึกษารายวิชาแบบ E-Learning 2 สาขาวิชา ดังนี้

1. สาขาทักษะผู้ประกอบการดิจิทัล (Essential Skills for Digital Entrepreneurs)

ประกอบด้วยรายวิชา

มธ.235 หลักการออกแบบและพัฒนาเว็ปแอปพลิเคชัน จำนวน 3 หน่วยกิต

มธ.238 พื้นฐานการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ อินเตอร์เนทสรรพสิ่งและการจัดการวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 3 หน่วยกิต

มธ.239 การพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนเบื้องต้น จำนวน 3 หน่วยกิต

1.1 แนวทางในการลงทะเบียนเรียนและขออนุมัติบันทึกวิชาในใบแสดงผลการศึกษา

1.1.1 นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนผ่านแพลตฟอร์ม (platform) ภายใต้ชื่อ https://hack1. hack athailand.com โดยนักศึกษาสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาและไม่มีข้อจำกัดเรื่องตารางเวลาเรียน

1.1.2 เมื่อนักศึกษาศึกษาและสอบผ่านรายวิชาต่างๆ ตามที่หลักสูตรกำหนดในวิชาสาขาทักษะผู้ประกอบการดิจิตอล (Essential Skills for Digital Entrepreneurs) สามารถนำวิชาที่ศึกษามาเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตกับรายวิชาในหลักสูตรได้

1.1.3 การขอเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตให้นักศึกษายื่นคำร้องแสดงความจำนงและระบุรายวิชาหรือกลุ่มวิชาในหลักสูตรที่ประสงค์จะเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตพร้อมแนบหลักฐานที่สะท้อนผลลัพธ์จากการเรียนรู้ประกอบการพิจารณาด้วย ได้แก่ ใบประกาศนียบัตรของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ต่อคณะ/ส่วนงานต้นสังกัดของนักศึกษาและให้คณะ/ส่วนงานส่งเรื่องไปยังกองบริหารงานวิชาการเพื่อเสนอต่อรองอธิการบดีซึ่งรับผิดชอบด้านวิชาการเพื่อพิจารณา

1.1.4 ในการบันทึกผลการศึกษาในรายวิชาที่ได้รับการอนุมัติให้เทียบโอนความรู้และหน่วยกิตให้สำนักงานทะเบียนนักศึกษาบันทึกอักษร ACC ในรายวิชาที่ได้รับอนุมัติให้เทียบโอนความรู้นั้น ซึ่งนักศึกษาจะได้รับการนับหน่วยกิตและไม่นำมาคำนวณระดับคะแนนเฉลี่ย

2. สาขาการเงินและการลงทุน (Finance and Investment) ประกอบด้วยรายวิชา มธ.201 ความรู้ทางการเงินสำหรับบุคคล จำนวน 3 หน่วยกิต

2.1 แนวทางในการลงทะเบียนเรียนและขออนุมัติบันทึกวิชาในใบแสดงผลการศึกษา

2.1.1 นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนผ่านแพลตฟอร์ม (platform) ของ บริษัท สกิลเลน เอดูเคชั่น จำกัด ภายใต้ชื่อ Thammasat e-Learning and online courses  (https://tu.skilllane.com) โดยนักศึกษาสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาและไม่มีข้อจำกัดเรื่องตารางเวลาเรียน

2.1.2 เมื่อนักศึกษาศึกษาและสอบผ่านวิชาต่างๆ ตามที่หลักสูตรกำหนดในวิชาสาขาการเงินและการลงทุน (Finance and Investment) สามารถนำวิชาที่ศึกษามาเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตกับรายวิชาในหลักสูตรได้

2.1.3 การขอเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตให้นักศึกษายื่นคำร้องแสดงความจำนงและระบุรายวิชาหรือกลุ่มวิชาในหลักสูตรที่ประสงค์จะเทียบโอนความรู้และหน่วยกิตพร้อมแนบหลักฐานที่สะท้อนผลลัพธ์จากการเรียนรู้ประกอบการพิจารณาด้วย ได้แก่ วุฒิบัตร e-Certification ต่อคณะ/ส่วนงานต้นสังกัดของนักศึกษาและให้คณะ/ส่วนงานส่งเรื่องไปยังกองบริหารงานวิชาการเพื่อเสนอต่อรองอธิการบดีซึ่งรับผิดชอบด้านวิชาการเพื่อพิจารณา

2.1.4 ในการบันทึกผลการศึกษาในรายวิชาที่ได้รับการอนุมัติให้เทียบโอนความรู้และหน่วยกิตให้สำนักงานทะเบียนนักศึกษาบันทึกอักษร ACC ในรายวิชาที่ได้รับอนุมัติให้เทียบโอนความรู้นั้น ซึ่งนักศึกษาจะได้รับการนับหน่วยกิตและไม่นำมาคำนวณระดับคะแนนเฉลี่ย